การบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับยุค Digital Economy

Digital Economy คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตมวลรวมของประเทศให้ทันกับโลกในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ Knowledge Economy หรือ เศรษฐกิจบนพื้นฐานของความรู้ และ Creative Economy ที่วางเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้กับสินค้าและการบริการผ่านทางนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์

ปัจจุบันคนไทยจำนวนมากใช้เทคโนโลยี Digital ทั้งการเล่น Facebook, Smartphone และ Tablet แต่สิ่งที่พบมากที่สุดคือการใช้เพื่อความบันเทิง และไม่ได้ถูกนำใช้ในด้านการทำงานมากนัก ดังนั้น การเร่งพัฒนาความรู้ การสร้างความตระหนักด้านการใช้เทคโนโลยี Digital ให้กับทุกภาคส่วนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งภาคธุรกิจ การศึกษา ราชการ เกษตรกรรม การท่องเที่ยว การขนส่ง และการทำอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่ Digital Economy โดยเน้นการปฎิรูปการศึกษาให้เยาวชนไทยมีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น มีพื้นฐานของงานวิจัยและพัฒนาทางด้านไอทีเพื่อลดการนำเข้าอุปกรณ์ Hardware, Communication และ Software จากต่างประเทศ ทั้งยัง พัฒนาให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตภายในประเทศ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลกโดยผลิตบุคลากรที่มีความสามารถทางด้านไอทีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน เมื่อสังคมไทยมีความตระหนักด้าน Digital มากขึ้นการใช้ข้อมูลออนไลน์ต่างๆ ก็มากขึ้นด้วย สังคมและธุรกิจก็จะเข้าสู่การเป็น Digital Economy และเศรษฐกิจของสังคมไทยจะก้าวเข้าสู่ Real-Time Economy แนวคิดในการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับยุค Digital Economy แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ

1. Digital Commerce ในอดีตมักกล่าวถึง e-commerce แต่ในยุคปัจจุบันตลาดการค้าดิจิตอลได้แตกแขนงไปสู่ mobile-commerce และ Social Commerce ที่ขายของผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ หรือการค้าบนระบบดิจิตอลที่กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจได้รวดเร็ว

2. Digital Transformation คือ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิตอลต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดมูลค่าทางธุรกิจนอกเหนือจากการค้า แต่เป็นเรื่องของประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

3. Digital Consumption คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นช่องทางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการที่มีอยู่เดิม และการใช้เทคโนโลยี Digital มาประยุกต์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจต่างๆ

นอกจากนี้ เพื่อรองรับกับเทคโนโลยีที่จะเกิดใหม่ และเพื่อก้าวให้ทันกับยุคไอที ในการให้บริการ และ ถ่ายทอดความรู้สู่ภาคประชาชนอย่างทั่วถึง จึงควรให้ความสำคัญและตั้งเป้าที่จะปฏิรูปประเทศสู่เศรษฐกิจเชิง Digital อย่างจริงจัง เพื่อให้มีการขนส่งข้อมูลจำนวนมากโดยสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และมีโครงข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง เชื่อมต่อกันทั่วทุกพื้นที่ด้วยความรวดเร็ว และการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจะสามารถลดช่องว่างเชิง Digital ลดต้นทุนที่เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงไอทีได้ และลดความซ้ำซ้อนในการสร้างเครือข่ายของหน่วยภาครัฐและภาคเอกชน

การพิสูจน์หลักฐานทางวิทยาศาสตร์จาก DNA

rice09เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ไม่ใช่เรื่องยากที่จะพิสูจน์ตรวจหาญาติพี่น้อง หรือเพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ของบุคคลในทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการนำเอาวิชาความรู้ในทางด้านวิทยาศาสตร์ในการเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ตรวจร่างกายและวัตถุพยานเพื่อช่วยในการค้นหาความจริง มักเป็นการใช้วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ กายภาพ เคมี คอมพิวเตอร์ และกีฏวิทยา เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน และดำเนินคดีทางกฎหมายเพื่อช่วยกระบวนการยุติธรรมในการพิสูจน์หลักฐานและชี้นำไปสู่ผู้กระทำความผิดอาญา

DNA เป็นสารพันธุกรรมและสามารถถ่ายทอดข้อมูลพันธุกรรมนี้ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน DNA เปรียบเสมือนหนังสือคู่มือในการสั่งให้สร้างคุณขึ้นมา โดยปรกติแล้วDNAส่วนใหญ่ของคนเราจะเหมือนกันในแต่ละคนเช่นจะมีลักษณะ สองตา สองหู หนึ่งจมูก แต่มันจะมีตัวแปรบางตัวแปรจำนวนหนึ่งของ DNA ที่ทำให้เราดูแตกต่างจากคนอื่นๆ เพราะอย่างนี้ DNA จึงสามารถใช้ในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของบุคคล ในยุคปัจจุบันนี้เรื่องการสืบหาความเป็นพ่อ แม่ พี่น้อง หรือสืบเชื้อสายว่ามีความเกี่ยวข้องกันทางสายเลือดหรือไม่นั้น คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ด้วยความที่เรามีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำไปมาก จึงสามารถหาคำตอบได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และมีผลค่อนข้างแม่นยำ นั่นก็คือวิธีการตรวจหา DNA

การตรวจดีเอ็นเอเป็นการตรวจเพื่อแสดงความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างบุคคล ดังนั้นหากบุคคลที่เข้าร่วมทดสอบไม่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด ค่าความแม่นยำของผลการทดสอบสามารถยืนยันได้ 100% ซึ่งหมายความว่าไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นอน  แต่หากบุคคลที่เข้าร่วมการทดสอบมีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด ผลการทดสอบจะแสดงค่าความความเชื่อมั่นที่ 99.999% หมายถึงว่ามีความสัมพันธ์กันทางสายเลือดอย่างแน่นอน ในทางปฏิบัติจะพิจารณาความแม่นยำของการทดสอบร่วมกับปัจจัยทางชีวภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผลการทดสอบมีความแม่นยำและความน่าเชื่อถือสูงมาก ในบางห้องปฏิบัติการอาจมีการทดสอบแบบแผนสารพันธุกรรมจากสิ่งส่งตรวจของบุคคลที่สามเพิ่มเติม แต่ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว การตรวจDNAเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดาอาจไม่ได้ตรวจเพียงวิธีเดียว เช่นเดียวกับหลักการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทั่วไป ในกรณีที่ต้องการทดสอบความเป็นพี่น้องหรือลูกหลานเว้นชั่วอายุคน พบว่าด้วยเทคนิคดังกล่าวจะความแม่นยำประมาณร้อยละ 90

เทคโนโลยีชีวภาพกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน

ในปัจจุบันนี้มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งก็คือ เทคโนโลยีที่สามารถนำสิ่งมีชีวิตหรือผลผลิตของสิ่งมีชีวิตมาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์เอง โดยมนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำน้ำปลา ซีอิ๊ว การหมักแอลกอฮอล์ การถนอมอาหารต่าง ๆ เป็นต้น การใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ให้เพิ่มผลผลิตมากขึ้น และการใช้ประโยชน์ทางการแพทย เช่น การใช้สมุนไพรรักษาโรคและบำรุงร่างกาย เป็นต้น
ในยุคปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีชีวภาพต่าง ๆ มีรูปแบบที่ทันสมัยและสามารถให้ผลผลิตอย่างรวดเร็วมากขึ้น ทั้งยังมีการผสมผสานวิชาการหลากหลายสาขาเข้าด้วยกันตั้งแต่ความรู้ทางด้านชีววิทยา เคมี ชีวเคมี ไปจนถึงฟิสิกส์ชีวภาพเป็นสหวิทยาการที่นำความรู้พื้นฐานด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
โดยปัจจุบันมนุษย์มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี
1. ด้านการแพทย์ เป็นการนำสารสำคัญในสิ่งมีชีวิตมาใช้ในการรักษาโรค เช่น วัคซีน การใช้ฮอร์โมนอินซูลินรักษาโรคเบาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้วิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นตอ (stem cells) ยีนบำบัด (gene therapy) ในการแก้ปัญหาการมีบุตรยาก และการวินิจฉัยโรคบางชนิด
2. ด้านการเกษตร เป็นการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้พัฒนาการเกษตรเพื่อการเพิ่มผลผลิต การปรับปรุงคุณภาพของผลผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคและแมลง และเพื่อให้มีการผลิตสารสำคัญบางชนิดเพิ่มมากขึ้น เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การดัดแปลงสารพันธุกรรม การถ่ายยีน (gene transfer) ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically modified organisims) ที่เรียกว่า GMOs
3. ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อลดสารพิษ กำจัดของเสีย และการรักษาสมดุลของสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะ การลดปริมาณของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ เป็นต้น โดยอาจใช้เทคโนโลยีการย่อยสลายของจุลินทรีย์ การสร้างเอนไซม์ในรูปแบบต่าง ๆ
4. ด้านอาหาร เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงคุณภาพอาหาร การถนอนอาหาร การผลิตอาหารรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้จุลินทรีย์ในการหมักแอลกอฮอล์ การหมักนมโยเกิร์ต เป็นต้น
5. ด้านอุตสาหกรรม เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อลดขั้นตอนการผลิต หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีขึ้น เช่น การใช้จุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตสารต่าง ๆ และการผลิตวัสดุชีวภาพให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีขึ้น เช่น การใช้จุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตสารต่าง ๆ และการผลิตวัสดุชีวภาพ เป็นต้น
6. ด้านนิติเวชศาสตร์ เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการตรวจสอบลักษณะจำเพาะของบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยพิจารณาจากความเหมือนหรือแตกต่างของพันธุกรรม เช่น การตรวจยืนยันบุตร การพิสูจน์หลักฐานในที่เกิดเหตุฆาตกรรม เป็นต้น
7. ด้านการอนุรักษ์ เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อช่วยให้สามารถขยายพันธุ์พืชบางชนิดที่ขยายพันธุ์ได้ยาก การเก็บรักษาน้ำเชื้อของสิ่งมีชีวิตไว้ ทำให้สามารถนำมาขยายพันธุ์ให้เกิดลูก เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นได้ เป็นต้น

เทคโนโลยีชีวภาพใหม่ทำให้การฉีดวัคซีนนั้นไม่เจ็บอีกต่อไป

เทคโนโลยีชีวภาพใหม่ทำให้การฉีดวัคซีนนั้นไม่เจ็บอีกต่อไป
กลุ่มนักวิจัยกลุ่มหนึ่งจากประเทศญี่ปุ่นได้ทำการทดสอบ “เข็มละลายได้” ที่จริงๆแล้วเป็นแผ่นปะที่ไร้ความเจ็บปวดใดๆและใช้งานง่ายเพียงแค่แปะลงไปที่แขนเท่านั้น แถมยังใช้งานได้ผลอีกด้วย เทคโนโลยีเข็มละลายได้ที่ถูกเรียกว่า MicroHyala ก่อนและหลังที่มันจะทำการส่งวัคซีนที่บรรจุไว้เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งในตอนแรกนั้นเข็มทั้งหมดก็จะตั้งตรงและภายหลังจากการ “ฉีด” วัคซีนนั้นแผนปะนี้ก็จะเรียบสนิท ซึ่งเข็มทั้งหมดก็จะหายเมื่อมันเผชิญกับน้ำในเซลล์ผิวของเรา แถมเรายังได้รับวัคซีนโดยที่ไม่รู้สึกเจ็บแม้แต่นิดเดียวอีกด้วย
ซึ่งทางกลุ่มนักวิจัยได้พบว่าเวลาที่พวกเขาใช้แผนปะ MicroHyala เพื่อให้วัคซีนนั้นมันได้ประสิทธิภาพเท่ากับการใช้เข็มฉีดยาด้วย นอกจากนั้น นี่ก็ยังไม่ใช่หนึ่งในเทคโนโลยีอันไกลโพ้นที่อาจจะมาถึงซักวันในอีกสิบปีข้างหน้าด้วยเพราะแพทย์หลายๆคนก็ได้เริ่มทำการทดสอบแผนปะวัคซีนกับคนแล้ว ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมานั้นก็ยอดเยี่ยมทีเดียว – แผ่นปะจะทิ้งรอยแดงไว้ประมาณ 2-3 วันแล้วจากนั้นก็จะหายไป นอกจากนั้นแล้ว มันยังสามารถใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องเข้ารับการฝึกสอนก่อนอีกด้วย โดย Shinsaku Nakagawa ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าของงานวิจัยครั้งนี้จาก Osaka University ได้กล่าวไว้ว่าข้อดีดังกล่าวจะทำให้ MicroHyala นั้น “มีประสิทธิผลเป็นพิเศษในการสนับสนุนการให้วัคซีนในประเทศที่กำลังพัฒนา”
ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องจริงแล้ว แผ่นปะตัวนี้ก็ยังทำให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับพวกเราทุกคนที่จะต้องได้รับวัคซีนไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตามเช่นกัน นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ในอนาคตพวกเราจะสามารถรับวัคซีนโดยไม่ต้องรู้สึกเจ็บได้อีกต่อไปแล้ว เพื่อให้การป้องกันโรคโดยใช้วัคซีนมีประสิทธิผลสูงสุด การให้วัคซีนในเด็กจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการให้วัคซีนเนื่องจากในวัยเด็กจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่เพียงพอและอยู่ในระหว่างการพัฒนาทำให้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อวัคซีนสูง ในประเทศไทยมีการกำหนดการให้วัคซีนคล้ายคลึงกันแต่มีการเพิ่มวัคซีนป้องกันวัณโรค ซีจี ป้องกันวัณโรคและไข้ไทฟอยด์เพิ่มเติม และมีข้อแนะนำการให้วัคซีนกันบาดทะยักทุก 10 ปี

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

Maldiveเราไม่สามารถปฏิเสธความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้คนมากมายในปัจจุบันได้ โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวที่ในปัจจุบันนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เตรียมตัวจะเดินทางท่องเที่ยวจำนวนมากใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวในการเดินทาง รวมไปถึงการจองเที่ยวบิน โรงแรม ร้านอาหาร และการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นรายการท่องเที่ยว รถเช่า หรือแม้แต่บทความ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ผ่านการใช้สื่อทางการตลาดออนไลน์และแอพพลิเคชั่นต่างๆได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น ทำให้ผู้ให้บริการธุรกิจด้านต่างๆหันมาให้ความสนใจพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อตอบสนอง และสามารถดึงดูดผู้บริโภคออนไลน์มากขึ้น

ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การแข่งขันเพื่อครอบครองพื้นที่แสดงข้อมูลนั้นต้องยกให้กับบริษัทท่องเที่ยวออนไลน์ที่มีพื้นที่มากที่สุด โดยจะเห็นได้จากผลแสดงการค้นหาข้อมูลที่มากที่สุดในทุกสินค้าและบริการการท่องเที่ยว การครอบครองพื้นที่ดังกล่าวนำมาซึ่งจุดเด่นที่แตกต่างกัน การพัฒนาเทคโนโลยีผสมกลมกลืนกับชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยการพัฒนาต่างๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของโทรศัพท์มือถือ Smart Phone และ Tablet ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งหมายถึงผู้คนจะเชื่อมต่อกันตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกบ้าน ดังนั้นดูเหมือนว่าเทคโนโลยีมีบทบาทในอนาคตอย่างมากในการยกระดับประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวของนักเดินทาง เนื่องด้วยบริการบอกตำแหน่งสถานที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้จัดหาสินค้าและบริการการท่องเที่ยวและจุดหมายปลายทางต่างๆ มีความสามารถในการติดตาม, โต้ตอบกับนักท่องเที่ยวได้ดีกว่า ทำให้พวกเขาได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและแม่นยำกว่า ซึ่งเป็นการทำให้ความพอใจของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

ความต้องการข้อมูลที่แม่นยำเพื่อสนับสนุนการทำงานประจำวัน ทำให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นระบบสากลในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ข้อมูลต่างๆมีการบริหารจัดการและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งยังทำให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ทั่วโลกอย่างทันที ซึ่งตรงกันข้ามกับสื่อสิ่งพิมพ์ ระบบเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงน้อยและมีต้นทุนส่วนเพิ่มต่ำ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไม่มีขอบเขต ซึ่งต่อมามีความสำคัญอย่างมากในโลกธุรกิจรวมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมัลติมีเดีย เช่น รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งช่วยพัฒนาการขายสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น