เทคโนโลยีก้าวสู่สังคมดิจิตอลกับการใช้ชีวิตประจำวัน

สังคมดิจิตอลในยุคของเทคโนโลยีที่ได้นำพามนุษย์เราก้าวสู่สังคมดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ กับชีวิตประจำวันที่จะต้องวนเวียนกับการพึ่งพาอุปกรณ์ไฮเทคเพื่อเข้าถึงโลกออนไลน์ที่คอยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารทั้งส่วนตัวและธุรกิจ ในยุคสมาร์ทโฟนที่นิยมใช้งานจากความคล่องตัวที่สามารถพกพาติดตัวใช้งานสะดวกประกอบกับผู้ให้บริการเครือข่ายที่ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพและความเร็วจนเข้าถึงยุค 4G กัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ออนไลน์มากที่สุดเกือบทั้งวันเฉลี่ยสูงถึงวันละ 6.6 ชั่วโมง สำหรับสมาร์ททีวีเริ่มถูกใช้งานทางด้านนี้ มีผู้ใช้งานเฉลี่ยวันละ 3.4 ชั่วโมง

พฤติกรรมการออนไลน์ผ่านอุปกรณ์มือถือส่วนใหญ่จะใช้เพื่อความบันเทิง ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยอ่านข่าวและอ่านหนังสือออนไลน์และค้นหาข้อมูล ขณะที่การใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์พีซีส่วนใหญ่จะใช้งานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล อันดับแรกใช้รับ–ส่ง อีเมล์ ค้นหาข้อมูล อ่านข่าว อ่านหนังสือออนไลน์ เป็นต้น การออนไลน์ผ่านมือถือผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้เปลี่ยนแปลงจากการพูดคุยมาเป็นการเช็คอินผ่านเฟซบุ๊ก แชร์ภาพส่วนตัวในที่สาธารณะเพื่อให้คนติดตาม หรือเพื่อดึงดูดความสนใจจากโลกสังคมออนไลน์และโชว์ด้วยการเซตสถานภาพของตนเองในเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นสาธารณะ เพื่อที่ว่าใครที่สนใจจะเข้ามาเป็นเพื่อนกะตน ก็สามารถเห็นข้อมูลส่วนตัวได้ทุกคน

เด็ก ๆ ในยุคนี้จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการเรียนรู้ตั้งแต่เล็ก ๆ ส่วนหนึ่งนั้นเป็นผลมาจากแรงผลักดันของอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม รวมทั้งขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สูงขึ้น สถาบันการศึกษาหลาย ๆ แห่งได้มีการวางพื้นฐานในเรื่องของเทคโนโลยีดังกล่าวตั้งแต่ในวัยอนุบาล เทคโนโลยีสมัยใหม่นี้เปรียบเสมือนเหรียญที่มีสองด้าน มีทั้งคุณและโทษ ภัยของอินเตอร์เน็ตที่เราได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟังอยู่เป็นประจำ คุณพ่อ คุณแม่หรือผู้ปกครองของเด็ก และเยาวชน พึงต้องระวังการใช้อินเตอร์เน็ตของเด็ก และเยาวชน ซึ่งเต็มไปด้วยสื่อลามก ภาพอนาจาร การหลอกลวง ซึ่งอาจนำไปสู่การข่มขืนหรือแม้แต่อาชญากรรมดังเช่นข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์อยู่เป็นประจำ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารกับชีวิตประจำวัน ในการเรียน การทำงาน การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิคส์ และความบันเทิง เป็นการใช้พลังแห่งเทคโนโลยีในการเผยแพร่ และการถ่ายเทความรู้ทำให้เกิดการสื่อสารโต้ตอบสองทางอย่างทั่วถึง ก่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่เกิดขึ้นในทุกสังคม

เทคโนโลยี 3G มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร

fairviewpc.orgในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ได้ทั่วไป มนุษย์เป็นผู้ออกแบบเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เกิดความสะดวกสบาย  และเทคโนโลยีซึ่งถูกกล่าวถึงอย่างมากในปัจจุบัน และน่าจะสร้างประโยชน์ให้วงการธุรกิจได้มากหลายหมื่นล้านเลยก็คือเทคโนโลยี 3G

ระบบเคลื่อนที่ 3G ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อการสื่อสารความเร็วสูงแบบไร้สาย สามารถส่งผ่านข้อมูลมัลติมีเดียรูปแบบต่างๆ เป็นการรวมกันระหว่างการนำเสนอข้อมูลผสมผสานกับรูปแบบเทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มเติมและพัฒนามาจากเดิมคือ 2G ที่ประเทศไทยกำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ด้วยความที่ 3G ยังเป็นสิ่งใหม่สำหรับประเทศไทยขณะนี้และยังไม่มีการเปิดให้ใช้อย่างเต็มรูปแบบด้วย

เทคโนโลยี 3G ทำให้เราสามารถรับชมโทรทัศน์หรือฟังวิทยุผ่านโทรศัพท์มือถือได้ นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟกซ์ โทรศัพท์ทางไกลไปต่างประเทศ รับส่งข้อความหรือไฟล์ภาพขนาดใหญ่ หรือบางทีเราอาจใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อรับชมรายการวิเคราะห์เศรษฐกิจและตลาดหุ้นในกรณีที่เราอยู่นอกสถานที่ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนในโลกก็ตาม

ผู้ประกอบการมักต้องประชุมทางธุรกิจกันบ่อยครั้ง และก็บ่อยครั้งเช่นกันที่เรามีนัดประชุมทางธุรกิจในเวลาเดียวกับที่เราติดธุระสำคัญจนไม่อาจเข้าร่วมประชุมได้ ปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขด้วยเทคโนโลยี 3G ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเข้าร่วมประชุมได้จากทั่วทุกมุมโลก โดยผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

เทคโนโลยี 3G สามารถดาวน์โหลดไฟล์และอัพโหลดไฟล์เอกสารสัญญาการซื้อขายต่างๆ ได้อีกด้วย ที่พิเศษมากกว่านั้นคือเป็นการเปิดประตูสู่การทำธุรกรรมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การโอนเงินออนไลน์ไปยังธนาคารต่างๆ จะมีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถเป็นผู้ให้หรือผู้ส่งข้อมูลข่าวสารและโฆษณาเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆ ของบริษัทไปยังผู้บริโภคได้อีกด้วย

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าความรวดเร็วของเทคโนโลยีทำให้เราสามารถสร้างความได้เปรียบทางด้านข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัวนักในธุรกิจ ซึ่งเราสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจให้กับบริษัทได้อีกทางหนึ่งด้วย ที่สำคัญคือเราต้องเริ่มปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีตัวใหม่นี้ให้เร็วที่สุด ถ้าหากเทคโนโลยีของเราไปได้ไกลจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจมาก

การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล ชุมชน และสังคมลดลง

การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล ชุมชน และสังคมลดลง

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ไปสู่การกินดีอยู่ดีของประชากรโดยส่วนรวมนั้น คือการมีฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง มีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม ทั้งนี้ถึงแม้ว่าการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะก้าวล้ำเพียงใดก็ตาม หากไม่เรียนรู้ควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม และคุณค่าของวัฒนธรรมในสังคมของตนเองแล้ว ย่อมส่งผลให้คนในสังคมขาดสมดุล ดังนั้นการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาทางด้านสังคม แบบบูรณาการร่วมกันแล้ว ย่อมส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ พัฒนาไปอย่างยั่งยืน

การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล ชุมชน และสังคมลดลง ดังนี้
1. การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง กระทบต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคม

2.การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมการเมือง ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิต ด้านจิตใจลดต่ำลง เพราะมุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตน เช่น การใช้อาวุธที่ทันสมัย ทำลายล้างมนุษย์ด้วยกันเอง การโจรกรรมข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
3. ความหมกมุ่นกับเทคโนโลยีเกินพอดี ทำให้คนเราเหินห่างจากธรรมชาติ เช่น เด็กติดเล่นเกม จนไม่สนใจพ่อแม่ การทำงานโดยอาศัยเทคโนโลยี หรือเครื่องผ่อนแรง จนไม่ใส่ใจต่อความรู้สึกของผู้ร่วมงาน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันน้อยลง
4. การใช้ชีวิตที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป โดยมุ่งหวังแต่สิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้สูญเสียศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง และเกิดความเคยชิน ส่งผลให้มนุษย์ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี

จากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์คิดค้นและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตมากขึ้น เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยให้มีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้นทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก แต่สิ่งอำนวยความสะดวกทำให้สูญเสียศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง และเกิดความเคยชินส่งผลให้มนุษย์ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี

การใช้เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาภาคการผลิตและบริการ

เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศ และเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ รวมทั้งกฎเกณฑ์ทางการค้าระหว่างประเทศใหม่ๆจะมีผลทำให้รูปแบบการผลิตและการค้าของประเทศต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทั้งนี้ในการสร้างรากฐานการผลิตที่เข้มแข็งในระยะยาวจำเป็นต้องรักษาภาคเกษตรให้ยังคงเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรภายในประเทศและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายสำคัญของตลาดโลก

การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพแทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย ตลอดทั้งการพัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกระดับให้ดีขึ้น เพิ่มขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดหาและปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต การส่งเสริมการลงทุนและการใช้มาตรการจูงใจด้านการเงินการคลังสำหรับกิจกรรมการพัฒนาและการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต การจัดสร้างระบบข้อมูลและเผยแพร่ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการผลิตระหว่างกลุ่มผู้ผลิต รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก

ตลาดหรือคู่แข่งทางการค้า เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะหากคุณภาพของสินค้นหรือบริการขอวเราต่ำกว่าคู่แข่ง โอกาสความสำเร็จของเราก็ย่อมมีน้อยลง การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการมักจะละเลยเพราะมั่นใจในคุณภาพสินค้นเดินหรือคิดว่าเป็นเรื่องยาก ต้องใช้นักวิชาการชั้นสูงหรือผู้เชี่ยวชาญทำมห้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ยังต้องปรับระบบการผลิตด้วย ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่ายุ่งยาก แต่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการเป็นเรื่องจำเป็นเพราะถ้าหากเราไม่พัฒนา การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการไม่ใช่เรื่องยุ่งยากแต่อย่างใด

การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือของการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน การสนับสนุนให้มีการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มทักษะและความรู้ความสามารถของคน โดยการสนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเข้ามาพร้อมกับการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้โครงการขนาดใหญ่ของรัฐ หรือที่รัฐให้สัมปทาน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับคนไทย

หลายหน่วยงานหลายองค์กรนำเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจ

ความก้าวหน้าและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานแต่ละหน่วยงานมากขึ้น องค์การต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นระบบย่อยภายในระบบสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอดและการเจริญเติบโตในอนาคต ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างต่อไปนี้

หลายหน่วยงานได้ปรับโครงสร้างขององค์การจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นเข้าสู่โครงสร้างระบบเครือข่าย พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยให้การตัดสินใจ และการประสานงานระหว่างหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จึงไม่ต้องมีการตรวจสอบและควบคุมเป็นลำดับขั้น นอกจากบุคลากรรุ่นใหม่ยังมีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสูงกว่าในอดีต จึงพร้อมที่จะรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของตนและกลุ่มมากขึ้น
องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน

ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง

นอกจากนี้กิจกรรมทางธุรกิจก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามการพลวัตรของสังคมที่ถูกผลักด้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น กิจกรรมทางการเงินที่ต้องกระทำต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน การผลิตและการตลาดต้องปรับตัว เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีหลากหลายขึ้น ช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีมากขึ้นกว่าในอดีต เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารในหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัว เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยความงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่ยุคสารสนเทศอย่างมั่นคง ดังต่อไปนี้

1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น
ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การและในอนาคต
2. พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
3. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย

เราจะเห็นว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศถูกใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การในหลายด้าน ตั้งแต่ การประมวลผลงานประจำวัน การตัดสินใจของผู้จัดการ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ขององค์การ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยส่งเสริมรูปแบบใหม่ในการสื่อสารข้อมูล และการเพิ่มผลผลิตขององค์การ