ในโลกธุรกิจกับการใช้เทคโนโลยี

ความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นกระแสที่ทุกคนให้ความสนใจอย่างมาก ไม่ว่าจะหันมองไปทางด้านไหนก็เห็นแต่เทคโนโลยีที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมาทั้ง นั้น เมื่อมานั่งไตร่ตรองคิดดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้วจะเห็นว่ามนุษย์ออกแบบ เทคโนโลยีต่างๆ ขึ้นมาเพื่อสร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น และเทคโนโลยีซึ่งถูกกล่าวถึงอย่างมากในปัจจุบัน และน่าจะสร้างประโยชน์ให้วงการธุรกิจได้มากหลายหมื่นล้านเลยก็คือเทคโนโลยี 3G ลองมาดูกันดีว่าเทคโนโลยีตัวนี้มีประโยชน์ในการนำมาประยุกต์ใช้ในโลกธุรกิจ อย่างไร

1. ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูล

ความรวดเร็วของเทคโนโลยีจะทำให้คุณได้เปรียบด้านข่าวสารมากขึ้นหลายเท่าตัว ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนในโลกก็สามารถส่งผ่านข้อมูลทั้งในรูปแบบคำพูดหรือ ข้อความต่างๆ เพราะหลายครั้งความสำเร็จของธุรกิจตัดสินกันเป็นวินาที เราขอยกตัวอย่างเช่น หากเรากำลังรอข้อมูลสำคัญเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในเซ็นสัญญาซื้อขาย โดยเราได้สั่งลูกน้องให้ออกไปหาและเก็บข้อมูลดังกล่าวนอกสถานที่และให้ รายงานผลกลับมาในทันทีเพราะมีคู่แข่งรอจะทำการซื้อขายอยู่เช่นกัน แต่ปรากฏว่าการทำการซื้อขายเกิดผิดพลาด บริษัทคู่แข่งได้สัญญาดังกล่าวไป เพราะเรามัวแต่รอข้อมูลซึ่งส่งมาให้ช้าเกินไปเพราะใช้เทคโนโลยีแบบเดิมๆ จะเห็นได้ว่าความรวดเร็วของเทคโนโลยีทำให้เราสามารถสร้างความได้เปรียบทาง ด้านข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัวนักในธุรกิจ ลองคิดดูเล่นๆ ว่า หากเราสามารถเป็นผู้เข้าตลาดและออกจากตลาดก่อนเป็นคนแรก ธุรกิจของเราจะได้เปรียบคู่ต่อสู้ขนาดไหน

2. ใช้บริการมัลติมิเดียได้มากขึ้น

จุดนี้เป็นจุดเด่นอีกจุดหนึ่งของเทคโนโลยี 3G ที่เพิ่มเข้ามาจากเทคโนโลยีเดิมในปัจจุบัน เราสามารถรับชมโทรทัศน์หรือฟังวิทยุผ่านโทรศัพท์มือถือได้ นอกจากนี้ยังสามารถส่งแฟกซ์ โทรศัพท์ทางไกลไปต่างประเทศ รับส่งข้อความหรือไฟล์ภาพขนาดใหญ่ อาทิ คุณกำลังมองหาที่ดินใจกลางเมืองเพื่อปลูกสร้างสำนักงานหรือซื้อเพื่อเก็ง กำไรในอนาคต เราก็สามารถถ่ายรูปแล้วส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญตีราคาประเมินเพื่อนำมาใช้ ประกอบการตัดสินใจ หรือบางทีเราอาจใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อรับชมรายการวิเคราะห์เศรษฐกิจและตลาด หุ้นในกรณีที่เราอยู่นอกสถานที่ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนในโลกก็ตาม หรือเราอาจรับชมวิดีโอการสัมมนาก็ยังสามารถทำได้ เรียกว่าเป็นการปฏิวัติวงการเทคโนโลยีแบบเดิมๆ โดยสิ้นเชิง

3. ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสารได้ทั่วโลก

เจ้าของธุรกิจหรือนักบริหารทั้งหลายมักต้องประชุมทางธุรกิจกันบ่อยครั้ง และก็บ่อยครั้งเช่นกันที่เรามีนัดประชุมทางธุรกิจในเวลาเดียวกับที่เราติด ธุระสำคัญจนไม่อาจเข้าร่วมประชุมได้ ปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ไขด้วยเทคโนโลยี 3G ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเข้าร่วมประชุมได้จากทั่วทุกมุมโลก โดยผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Video conference) และไม่แน่ว่าการพูดคุยกับลูกค้าแบบเห็นหน้ากันอาจกลายเป็นเรื่องปกติในอนาคต

4. เชื่อมต่อข้อมูลอินเทอร์เน็ต

ความสามารถในการเข้าถึงและเชื่อมต่อข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นศักยภาพสูง สุดที่ 3G มีเหนือกว่าระบบแบบเดิมๆ อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอีกต่างหาก เราสามารถเข้าดูข้อมูลตามเว็บไซต์ผ่านอินเทอร์เน็ตทางโทรศัพท์มือถือ นอกเหนือจากนี้ยังสามารถดาวน์โหลดไฟล์และอัพโหลดไฟล์เอกสารสัญญาการซื้อขาย ต่างๆ ได้อีกด้วย ที่พิเศษมากกว่านั้นคือเป็นการเปิดประตูสู่การทำธุรกรรมออนไลน์ในรูปแบบ ต่างๆ เช่น การโอนเงินออนไลน์ไปยังธนาคารต่างๆ จะมีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ยิ่งกว่านั้นหากคิดในทางกลับกัน เรายังสามารถเป็นผู้ให้หรือผู้ส่งข้อมูลข่าวสารและโฆษณาเกี่ยวกับสินค้าและ บริการต่างๆ ของบริษัทไปยังผู้บริโภคได้อีกด้วย นับเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนการสื่อสารทางกรตลาดไปอย่างสิ้นเชิง

เห็นได้ว่าเทคโนโลยี 3G ซึ่งเริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในขณะนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนต่อธุรกิจ ซึ่งเราสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจให้กับบริษัทได้อีกทางหนึ่งด้วย ที่สำคัญคือเราต้องเริ่มปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีตัวใหม่นี้ให้เร็วที่ สุด ให้สามารถควบคุมหรือดัดแปลงประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และเหมาะสมกับธุรกิจ เพราะการที่เราสามารถเดินนำหน้าคนอื่นแม้แต่เพียงครึ่งก้าวก็สามารถสร้าง ความแตกต่างทางธุรกิจได้มากมายมหาศาลแล้ว

เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์กับโลกธุรกิจปัจจุบัน

 

โลกเราในปัจจุบันนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งก็คือสังคมที่เต็มไปด้วยข้อมูล และข่าวสาร และเป็นยุคที่เป็นโลกของการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารมีความทันสมัย ก้าวหน้าสามารถเชื่อมต่อโลกทั้งโลกได้ โดยไม่มีอุปสรรคด้านเวลาและระยะทาง

ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ของมนุษย์ในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน การทำธุรกิจ การศึกษา การวิจัยพัฒนา หรือแม้กระทั่งความบันเทิงต่างๆ สังเกตได้จากสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รอบตัวเราส่วนใหญ่จะถูกควบคุมการทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบ Internet, Search Engine, Wireless technology, Multimedia, Broadband, Telecommunications, Bio Technology ต่างๆ เหล่านี้ได้ปฏิวัติชีวิตและแบบแผนดั้งเดิมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของเราจนหมดสิ้น มีสถิติบันทึกไว้ว่านับตั้งแต่ Internet เป็นที่รู้จักของชาวโลกแค่เพียง 4 ปี ก็มีผู้เข้าใช้งาน Internet มากถึง 50 ล้านคนทั่วโลก

เทคโนโลยีนำเราสู่โลกใหม่และสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้มนุษย์อย่างมากมายมหาศาล เช่น ในด้านการศึกษา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้โอกาสในการศึกษาเรียนรู้ของมนุษย์ขยายขอบเขตไป อย่างมาก เราสามารถเรียนรู้ได้ไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลกผ่านสื่อ e-learning แบบ WBI (Web Based Instruction) หรือการเรียนการสอนผ่านบริการเว็บเพจ โดยมีผลสำรวจของสำนักวิจัย International Data Corporation (IDC) คาดการณ์ว่าในทวีปยุโรปความต้องการในการเรียนรู้ผ่าน e-learning จะขยายตัวเป็นสองเท่าในปี 2005 และจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนสูงขึ้น 30% ทุกปีจนถึงปี 2008

ในด้านธุรกิจเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศ (Information & Communication Technology หรือ ICT) นับวันยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร โดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศ จะมีบทบาทหลักในการช่วยจัดเก็บข้อมูล ช่วยในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ รวมถึงเทคโนโลยีด้านการพัฒนาจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการสื่อสาร ผ่านทางระบบ Internet, Intranet และ Groupware (โปรแกรมที่ให้บริการ share ข้อมูลร่วมกันระหว่างกลุ่มคน service ที่ให้บริการ เช่น share calendars, email, share database, electronics meeting เป็นต้น)

ปัจจุบันนี้องค์กรต่างๆ กว่า 2,000 องค์กรทั่วโลก ต่างก็พยายามเชื่อมต่อเทคโนโลยีและพัฒนาการจัดการข้อมูลสารสนเทศให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านรูปแบบที่เรียกว่า EAI (Enterprise Application Integration) ซึ่งในทางธุรกิจ EAI ช่วยให้องค์กรสามารถคิดค้นโซลูชั่นใหม่ๆ ทางธุรกิจ, สร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบซัพพลายเชน, ช่วยปรับปรุงการทำงานภายในองค์กร, ลดเวลาและลดขั้นตอนการทำงานและเพิ่มผลผลิต, ช่วยลดต้นทุน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ นอกจากนั้นเทคโนโลยี การดำเนินธุรกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-commerce) ยังเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมอีกด้วย

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

 

gazetelerเนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์คิดค้นและพัฒนาสิ่งอำนวยต่อการดำรงชีวิตมากขึ้น และเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาอุปกรณ์ด้านคอมพิวเตอร์โดยมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีส่วนทำให้คุณภาพชีวิตของบุคคลดีขึ้นและยังพัฒนาประเทศได้ดีขึ้นด้วย เช่น
1.การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้ก้าวหน้าและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.การสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศในทุกด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และยังช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ สามารถแก้ปัญหาเองได้
3.การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ผลิต โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆในการเพิ่มรายได้ภายในประเทศได้
4.การศึกษาตลอดชีวิตที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้การศึกษามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการศึกษาสามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและยังช่วยในการเข้าสังคม
5.ด้านอุตสาหกรรม การบริการ ที่ใช้เทคโนโลยีเข้าไปเชื่อมโยงกับบริการเพื่อสนองความต้องการของสังคม เช่น ธนาคาร การศึกษาและอื่นๆ

นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้วการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคมลดลง คือการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองและการหมกมุ่นกับเทคโนโลยีเกินไป จะทำให้เหินห่างจากธรรมชาติ อย่างเช่น เด็กจะติดเกมส์ จนไม่สนใจอะไรเลย นอกจากนี้การพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไปโดยมุ่งหวังแต่ความสะดวกสบายจะทำให้สูญเสียศักยภาพในการพึงพาตนเอง

เนื่องจากปัจจุบันอยู่ในยุคของโลกไร้พรมแดน วิทยาการทุกอย่างย่อมส่งผลกระทบถึงทุกคน ดังนั้นการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการแก้ปัญหาชีวิตและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในสังคม โดยถ้าทุกคนมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อกันและสิ่งแวดล้อมแล้วการนำเทคโนโลยีมาใช้ ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์  แต่ถ้า ขาดจิตสำนึกแล้ว อาจจะนำเทคโนโลยีไปใช้ ในแนวทางไม่สร้างสรรค์ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้ตน ก็อาจจะทำให้เกิดโทษได้ดังนั้น การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยไม่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่นและส่วนรวม จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดไป

การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีววิทยา

การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีววิทยา

ในทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งทีได้รับการยกย่องว่ามีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ๆ และกำลังเป็นที่จับตามองของทั่วโลก อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในสังคม ประเทศไทยนั้นได้นำเอาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีทางชีววิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์ เช่น การให้บริการทางสาธารณะสุข การสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ ผลิตยาแผนโบราณ อาหารเสริม และเครื่องสำอาง

เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์มีประโยชน์อย่างมากต่อระบบธุรกิจของไทย ในขบวนการผลิตของโรงงาน ต้องยอมรับว่าบริษัทใหญ่ในโลกมีสายการผลิตและคิดค้นโดยเฉพาะยาใหม่ๆ ที่ต้องลงทุนสูง ใช้ระยะเวลานานในการวิจัย และทดลองหลายครั้งอย่างจริงจัง บริษัทที่มีการวิจัยและลงทุนอย่างจริงจังก็คือ บริษัท Novartis หรือ Roche บริษัทในไทยจึงต้องมีการลงทุนที่จริงจังในด้านนี้มากขึ้น เพราะประเทศไทยยังต้องสั่งยาจากต่างชาติเข้ามา และในอนาคตไม่แน่ว่าอาจจะเกิดปัญหาในการขาดแคลนตัวยารักษาโลก ด้านราคาได้ ประเทศจึงต้องเร่งมือในการคิดค้นวิทยาการใหม่ๆเพื่อลงทุนธุรกิจยาให้ก้าวหน้าและแข่งขันกับประเทศอื่นๆ เพราะในทุกวันนี้ต่างชาติเป็นคู่แข่งทางด้านธุรกิจที่ได้เปรียบมานาน และยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพราะต้องเริ่มจากการวิจัยขั้นพื้นฐาน การทดลองการทดสอบ และการขออนุญาตรับรองตัวยา ล้วนแต่มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งสิ้น ทำให้ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในการวิจัยและการผลิต ดังนั้นภาครัฐจึงควรเข้ามาสนับสนุน เกี่ยวกับการวิจัยให้มากขึ้น

การส่งเสริมอุตสาหกรรมชีววิทยา นอกจากด้านการส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ และผลิตนักคิดค้นการวิจัยและพัฒนาแล้ว การให้สิทธิประโยชน์กับผู้ประกอบการก็เป็นเรื่องสำคัญ การบริการการจัดการด้านธุรกิจประเภทนี้ เป็นงานที่หลายๆฝ่ายควรให้ความร่วมมือ ควรมีการเปิดรับบริจาคเพื่อสนับสนุนบุคลากร ให้สามารถพัฒนาความรู้ และแปลงความรู้เพื่อต่อยอดธุรกิจด้านชีววิทยา รวมทั้งมีการเจรจาต่อรองเพื่อนำผลผลิตจากสิทธิบัตรนำมาใช้ทางการค้า อย่างไรก็ตามประเทศไทยเองมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้อยู่มากมายที่จะสามารถนำพาธุรกิจชีววิทยาให้สามารถผ่านอุปสรรคไปได้ เพราะธุรกิจประเภทนี้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก และที่ผ่านมาการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นรูปแบบลักษณะดำเนินงานตามกลุ่มเทคโนโลยี จึงทำให้บทบาทของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ไทยไม่โดดเด่น

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเร่งผลักดันแผนงานทั้ง 47 แผนงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สามารถแข่งขัน และพร้อมรับมือกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือASEAN Economics Community(AEC) ใน ค.ศ. 2015 หรือ พ.ศ. 2558 หรือในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างแท้จริง”

เพื่อให้งานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปผสมผสานกับงานด้านเศรษฐกิจทั้งหมด ได้ให้นโยบายและแนวทางการดำเนินงานว่าจะดำเนินการในลักษณะ Project – based โดยในหนึ่งแผนงานจะต้องมีทุกกระทรวง ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนเข้ามาร่วมในการขับเคลื่อน ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการร่วมกันระหว่างทุกกระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยังได้สร้างกลไกให้มีผู้แทนของแต่ละแผนงานมาทำหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อนตามแนวทาง 5 กลุ่มงาน โดยจัดการตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ หรือ ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การออกแบบ การแปรรูป และการส่งออกสู่ตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (value chain) ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ดำเนินการนำร่องแล้วทั้งหมด 47 แผนงานโดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

1. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างงาน เช่น เทคโนโลยีการเกษตร การผลิตพันธุ์พืช การเพาะปลูก เป็นต้น โดยจะมีแผนงาน เช่น แผนงานข้าว แผนงานยาง แผนงานข้าวโพด และแผนงานปาล์ม เป็นต้น รวม 13 แผนงาน

2. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างรายได้ จะเน้นที่การสร้างรายได้หรือเพิ่มมูลค่า เช่น แผนงานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ด้วยเทคโนโลยีซอฟแวร์ และสารสนเทศดิจิตอล แผนงานยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อรองรับการผลิตชิ้นส่วนรถไฟและระบบราง รวม 13 แผนงาน

3. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างชีวิต เกี่ยวกับสุขภาพของคน เพื่อตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุในอนาคต เช่น แผนงานนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับคนไทย แผนงานนวัตกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์จากงานวิจัยของประเทศไทย รวม 4 แผนงาน

4. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างอนาคต คือการพัฒนาไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ในอนาคต เช่น แผนงานภูมิสารสนเทศกลางของประเทศเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการนำไปใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ความมั่นคง และการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น อาทิ แผนงานความหลากหลายทางชีวภาพ : การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์ แผนงานขยายการผลิตสาหร่ายเป็นอุตสาหกรรมพลังงานและอาหาร รวม 14 แผนงาน

5. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างฐานความรู้ โดยดำเนินการร่วมกับนโยบาย Talent Mobility จากการใช้ประโยชน์จากกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีโครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมกับเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้วยนโยบายการใช้ประโยชน์จากอุทยานวิทยาศาสตร์ (Regional Science Parks) ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในภูมิภาค