ท่อเหล็กรูปพรรณสำหรับการก่อสร้าง สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 2 ประเภทหลักเช่นกัน คือ ท่อเหล็กที่นำไปใช้เป็นงานโครงสร้างและงานระบบ โดยท่อเหล็กที่นำไปใช้ในงานโครงสร้างก็จะนำไปใช้ ในส่วนของโครงสร้างของตัวอาคาร โครงสร้างเสา หลังคา ผนังอาคารหรือแม้แต่การนำไปตกแต่งเพื่อ ความสวยงามของอาคาร และเหล็กที่นำไปใช้สำหรับงานระบบ ได้แก่ ระบบดับเพลิง ระบบประปา ระบบสุขาภิบาล
การใช้งานท่อเหล็กรูปพรรณ มาตรฐานของท่อเหล็กรูปพรรณ แบ่งตามประเภทการใช้งานได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.CARBON STEEL TUBES FOR ORDINARY USES
ท่อเหล็กกลมดำ สำหรับงานระบบ สุขาภิบาล ระบบดับเพลิง, ระบบชลประทาน, ระบบประปา, ระบบท่อน้ำเย็น เครื่องปรับอากาศ ท่อชุบและท่ออาบสังกะสี มอก.277 สำหรับระบบส่งน้ำการเกษตร, ระบบบำบัดน้ำเสีย, ระบบน้ำประปาภายในอาคาร
การใช้งาน ใช้กับงานงานสาธารณูปโภค, งานเกษตรกรรม งานประปา แก๊ส งานชลประทาน งานระบบป้องกันอัคคีภัย ฯลฯ
2.CARBON STEEL TUBES FOR GENERAL STURCTURAL PURPOSES
ท่อเหล็กสำหรับงานโครงสร้าง, โครงถัก หลังคา, โครงถักสะพาน, โครงถักป้ายจราจร, ท่อเหล็กสำหรับงานอุตสาหกรรม เหล็กรูปตัวซี, สำหรับโครงหลังคา, บ้านพักอาศัยและ โรงงานอุตสาหกรรม
การใช้งาน ใช้กับงานวิศวกรรมโยธา, งานสถาปัตยกรรม, งานเสาเข็ม, นั่งร้าน และ งานโครงสร้างต่าง ๆ ฯลฯ
อาคาร ที่นิยมนำท่อเหล็กมาทำเป็นโครงสร้าง ได้แก่ อาคารทรงโดม โครงสร้างหลังคา อาคารทรง พีระมิด อาคารสูง อาคารคลังสินค้า และสถานีขนส่ง สินค้า เป็นต้น ซึ่งในการก่อสร้างสามารถนำไปใช้ร่วม กับวัสดุอื่นๆ ได้แก่ ผ้าใบ แผ่นโลหะ กระจก คอนกรีต ซึ่งการก่อสร้างนั้นจะมีทั้งการนำท่อเหล็กอยู่ด้านบน ของอาคารเพื่อรองรับความแข็งแรงของโครงสร้าง ด้านล่างหรือ การใช้โครงสร้างของท่อเหล็กอยู่ด้านล่าง เพื่อรองรับน้ำหนักหรือความแข็งแรงด้านบนของอาคาร นอกจากนี้ยังมีการนำท่อเหล็กไปใช้สำหรับงานด้าน สาธารณูปโภค ได้แก่ โครงสร้างอาคารจอดรถที่พัก ผู้โดยสาร งานระบบดับเพลิง งานระบบประปา และ งานทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น ใช้ท่อเหล็กเป็นเสา อาคารแทนการใช้เสาคอนกรีต ช่วยให้เพิ่มพื้นที่ของ อาคารได้มากขึ้นและมีผลดีด้านความแข็งแรงและความสวยงาม