การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล ชุมชน และสังคมลดลง

การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล ชุมชน และสังคมลดลง

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ไปสู่การกินดีอยู่ดีของประชากรโดยส่วนรวมนั้น คือการมีฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง มีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม ทั้งนี้ถึงแม้ว่าการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะก้าวล้ำเพียงใดก็ตาม หากไม่เรียนรู้ควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม และคุณค่าของวัฒนธรรมในสังคมของตนเองแล้ว ย่อมส่งผลให้คนในสังคมขาดสมดุล ดังนั้นการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาทางด้านสังคม แบบบูรณาการร่วมกันแล้ว ย่อมส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ พัฒนาไปอย่างยั่งยืน

การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล ชุมชน และสังคมลดลง ดังนี้
1. การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง กระทบต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคม

2.การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมการเมือง ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิต ด้านจิตใจลดต่ำลง เพราะมุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตน เช่น การใช้อาวุธที่ทันสมัย ทำลายล้างมนุษย์ด้วยกันเอง การโจรกรรมข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
3. ความหมกมุ่นกับเทคโนโลยีเกินพอดี ทำให้คนเราเหินห่างจากธรรมชาติ เช่น เด็กติดเล่นเกม จนไม่สนใจพ่อแม่ การทำงานโดยอาศัยเทคโนโลยี หรือเครื่องผ่อนแรง จนไม่ใส่ใจต่อความรู้สึกของผู้ร่วมงาน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันน้อยลง
4. การใช้ชีวิตที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป โดยมุ่งหวังแต่สิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้สูญเสียศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง และเกิดความเคยชิน ส่งผลให้มนุษย์ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี

จากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์คิดค้นและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตมากขึ้น เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยให้มีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้นทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก แต่สิ่งอำนวยความสะดวกทำให้สูญเสียศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง และเกิดความเคยชินส่งผลให้มนุษย์ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศให้ดีขึ้น

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวพันกับมนุษย์และสังคมอย่างแน่นแฟ้น

การพิจารณาเรื่องเป้าหมายและปัจจัยในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาจช่วยให้ไม่ลืมว่าการพัฒนามิใช่เป้าหมายของตัวเองแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเป้าหมายของสังคมโดยส่วนรวม ดังนั้นจึงสมควรอย่างยิ่งที่ทุกคนในสังคมควรจะมีความรู้สึกเกี่ยวกับปัญหาทั้งในแง่ผู้ที่จะมีบทบาทเสริมสร้างและผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการพัฒนานั้น การพัฒนาสังคมในด้านใดๆย่อมต้องการความเข้าใจและความร่วมมือจากสมาชิกในสังคมฉันใด การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงจะพัฒนาได้ตามเป้าประสงค์

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา

เพื่อไปสู่ประเทศที่พัฒนาด้านอุตสาหกรรม ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังจะปรับเปลี่ยนไปสู่สังคมดิจิตอลไปแล้ว เท่ากับว่าประเทศเหล่านี้ก็หนีไปจากเราอีกหนึ่งขั้น เมื่อรู้แล้วผู้นำประเทศของเราใช้เวลา 4 ปีในการบริหารประเทศได้พยายามปรับเปลี่ยนการบริหารงานราชการแผ่นดินให้เป็นรัฐบาลดิจิตอลโดยเน้นให้ประชาชนได้รับข้อมูล ข่าวสารมากขึ้น และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยอาศัยความรู้ความเข้าใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม พัฒนาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต และการอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศในระยะยาว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในทุกๆเรื่องตั้งแต่การดำรงชีวิตประจำวัน การพัฒนาชุมชนของตนเอง ตลอดจนการพัฒนาประเทศ

การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1. การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือการพัฒนาคนในชาติให้มีความรู้ ความคิด และความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่ประเทศพึ่งตนเองได้
2. การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำเป็นต้องพัฒนาทุกองค์ประกอบของระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอัน
3. การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศที่กำลังพัฒนาอาศัยเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นต้นแบบ นำมาวิเคราะห์โดยมีการแก้ไขดัดแปลงที่จำเป็นเพื่อให้พึ่งตนเองได้เมื่อมีความต้องการเทคโนโลยีนั้นอีก
4. ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบของเครื่องกลและผลิตผลจากเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตหรือลดต้นทุนการผลิตหรือยกระดับมาตรฐานการดำรงชีพไม่ใช่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่เป็นเพียงมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเท่านั้น
5. การถ่ายทอดเทคโนโลยีมิใช่การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยี แต่เป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้หนึ่งหรือองค์กรหนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่งหรืออีกองค์กรหนึ่ง

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศและพัฒนาคุณภาพชีวิตไปสู่การกินดีอยู่ดีของประชากรโดยส่วนรวมนั้น คือ การมีฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง มีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม ทั้งนี้ถึงแม้ว่าการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะก้าวล้ำเพียงใดก็ตาม หากไม่เรียนรู้ควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม และคุณค่าของวัฒนธรรมในสังคมของตนเองแล้ว ย่อมส่งผลให้คนในสังคมขาดสมดุล ดังนั้นการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาทางด้านสังคมแบบบูรณาการร่วมกันแล้วย่อมส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆพัฒนาไปอย่างยั่งยืน