เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์กับโลกธุรกิจปัจจุบัน

 

โลกเราในปัจจุบันนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งก็คือสังคมที่เต็มไปด้วยข้อมูล และข่าวสาร และเป็นยุคที่เป็นโลกของการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารมีความทันสมัย ก้าวหน้าสามารถเชื่อมต่อโลกทั้งโลกได้ โดยไม่มีอุปสรรคด้านเวลาและระยะทาง

ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ของมนุษย์ในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน การทำธุรกิจ การศึกษา การวิจัยพัฒนา หรือแม้กระทั่งความบันเทิงต่างๆ สังเกตได้จากสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รอบตัวเราส่วนใหญ่จะถูกควบคุมการทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบ Internet, Search Engine, Wireless technology, Multimedia, Broadband, Telecommunications, Bio Technology ต่างๆ เหล่านี้ได้ปฏิวัติชีวิตและแบบแผนดั้งเดิมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของเราจนหมดสิ้น มีสถิติบันทึกไว้ว่านับตั้งแต่ Internet เป็นที่รู้จักของชาวโลกแค่เพียง 4 ปี ก็มีผู้เข้าใช้งาน Internet มากถึง 50 ล้านคนทั่วโลก

เทคโนโลยีนำเราสู่โลกใหม่และสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้มนุษย์อย่างมากมายมหาศาล เช่น ในด้านการศึกษา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้โอกาสในการศึกษาเรียนรู้ของมนุษย์ขยายขอบเขตไป อย่างมาก เราสามารถเรียนรู้ได้ไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลกผ่านสื่อ e-learning แบบ WBI (Web Based Instruction) หรือการเรียนการสอนผ่านบริการเว็บเพจ โดยมีผลสำรวจของสำนักวิจัย International Data Corporation (IDC) คาดการณ์ว่าในทวีปยุโรปความต้องการในการเรียนรู้ผ่าน e-learning จะขยายตัวเป็นสองเท่าในปี 2005 และจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนสูงขึ้น 30% ทุกปีจนถึงปี 2008

ในด้านธุรกิจเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศ (Information & Communication Technology หรือ ICT) นับวันยิ่งมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร โดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารและข้อมูลสารสนเทศ จะมีบทบาทหลักในการช่วยจัดเก็บข้อมูล ช่วยในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ รวมถึงเทคโนโลยีด้านการพัฒนาจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการสื่อสาร ผ่านทางระบบ Internet, Intranet และ Groupware (โปรแกรมที่ให้บริการ share ข้อมูลร่วมกันระหว่างกลุ่มคน service ที่ให้บริการ เช่น share calendars, email, share database, electronics meeting เป็นต้น)

ปัจจุบันนี้องค์กรต่างๆ กว่า 2,000 องค์กรทั่วโลก ต่างก็พยายามเชื่อมต่อเทคโนโลยีและพัฒนาการจัดการข้อมูลสารสนเทศให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านรูปแบบที่เรียกว่า EAI (Enterprise Application Integration) ซึ่งในทางธุรกิจ EAI ช่วยให้องค์กรสามารถคิดค้นโซลูชั่นใหม่ๆ ทางธุรกิจ, สร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบซัพพลายเชน, ช่วยปรับปรุงการทำงานภายในองค์กร, ลดเวลาและลดขั้นตอนการทำงานและเพิ่มผลผลิต, ช่วยลดต้นทุน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ นอกจากนั้นเทคโนโลยี การดำเนินธุรกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-commerce) ยังเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมอีกด้วย

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก และที่ผ่านมาการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นรูปแบบลักษณะดำเนินงานตามกลุ่มเทคโนโลยี จึงทำให้บทบาทของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ไทยไม่โดดเด่น

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเร่งผลักดันแผนงานทั้ง 47 แผนงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สามารถแข่งขัน และพร้อมรับมือกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือASEAN Economics Community(AEC) ใน ค.ศ. 2015 หรือ พ.ศ. 2558 หรือในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างแท้จริง”

เพื่อให้งานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปผสมผสานกับงานด้านเศรษฐกิจทั้งหมด ได้ให้นโยบายและแนวทางการดำเนินงานว่าจะดำเนินการในลักษณะ Project – based โดยในหนึ่งแผนงานจะต้องมีทุกกระทรวง ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนเข้ามาร่วมในการขับเคลื่อน ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการร่วมกันระหว่างทุกกระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยังได้สร้างกลไกให้มีผู้แทนของแต่ละแผนงานมาทำหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อนตามแนวทาง 5 กลุ่มงาน โดยจัดการตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ หรือ ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การออกแบบ การแปรรูป และการส่งออกสู่ตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (value chain) ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ดำเนินการนำร่องแล้วทั้งหมด 47 แผนงานโดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

1. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างงาน เช่น เทคโนโลยีการเกษตร การผลิตพันธุ์พืช การเพาะปลูก เป็นต้น โดยจะมีแผนงาน เช่น แผนงานข้าว แผนงานยาง แผนงานข้าวโพด และแผนงานปาล์ม เป็นต้น รวม 13 แผนงาน

2. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างรายได้ จะเน้นที่การสร้างรายได้หรือเพิ่มมูลค่า เช่น แผนงานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ด้วยเทคโนโลยีซอฟแวร์ และสารสนเทศดิจิตอล แผนงานยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อรองรับการผลิตชิ้นส่วนรถไฟและระบบราง รวม 13 แผนงาน

3. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างชีวิต เกี่ยวกับสุขภาพของคน เพื่อตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุในอนาคต เช่น แผนงานนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือคนพิการและผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับคนไทย แผนงานนวัตกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์จากงานวิจัยของประเทศไทย รวม 4 แผนงาน

4. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างอนาคต คือการพัฒนาไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยี ในอนาคต เช่น แผนงานภูมิสารสนเทศกลางของประเทศเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการนำไปใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ความมั่นคง และการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น อาทิ แผนงานความหลากหลายทางชีวภาพ : การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์ แผนงานขยายการผลิตสาหร่ายเป็นอุตสาหกรรมพลังงานและอาหาร รวม 14 แผนงาน

5. วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างฐานความรู้ โดยดำเนินการร่วมกับนโยบาย Talent Mobility จากการใช้ประโยชน์จากกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีโครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมกับเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้วยนโยบายการใช้ประโยชน์จากอุทยานวิทยาศาสตร์ (Regional Science Parks) ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในภูมิภาค